top of page
ppamorncontact

จัดการกับโรครากเน่าของทุเรียน

อัปเดตเมื่อ 26 ม.ค. 2566

หลายคนอาจเรียกโรครากเน่านี้ว่า ทุเรียนไฟทอปทอร่า มาจากชื่อของเชื้อราไฟทอปทอร่า (Phytophthora) ต้นตอสำคัญที่อาศัยอยู่ในดิน ที่มักทำลายพืชได้รุนแรงจนสามารถตายได้


การสังเกตอาการ

อาการเน่าที่โคนต้น กิ่ง หรือที่ผิวเปลือกของต้นทุเรียน สามารถสังเกตอาการได้จากรอยคราบน้ำที่เกาะติดกับบริเวณต่างๆ มีน้ำเยิ้มออกมาจากเนื้อเยื่อ เปลือกมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม หากอาการลุกลามจะทำให้ใบร่วงและตายได้

  • ทำลายที่ใบจะเกิดเป็นจุดสีน้ำตาล

  • ทำลายที่ผลจะเกิดจุดสีน้ำตาลบนผล จะทำให้ผลเน่าและร่วงลงมาจากต้น

  • ทำลายที่รากต้นทุเรียน ทำให้รากเป็นสีน้ำตาล เมื่อรากเน่ามาก ใบทุเรียนที่อยู่ปลายกิ่งไม้จะมีอาการซีดเหลือง การเจริญเติบโตชะงัก และต่อมาใบเริ่มร่วงที่ส่วนปลายกิ่งของต้น

การแพร่ระบาดในวงกว้าง

เชื้อราไฟทอปทอร่า (Phytophthora) มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี สปอร์จะงอกและ สร้างเส้นใยเข้าไปในรากพืช สร้างเส้นใยขยายตัวภายในพืช และ ในสภาวะที่ความชื้นสูงและฝนตกชุก จะกระเซ็นเข้าทำลายได้ดีและรวดเร็วกว่า ที่โคนต้น และ กิ่งใหญ่ๆ เห็นเป็นจุดฉ่ำน้ำและมีน้ำเยิ้มออกมาเนื้อเยื่อและเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นทุเรียนแสดงอาการเหลืองเป็นกิ่งๆ หลังจากนั้นจะแพร่กระจายไปสู่ผล ทำให้ผลเน่า


การรักษาโดยสารฟอสฟอนิก

  1. ผสมสารฟอสฟอนิก แอซิด 40%w/v กับน้ำกลั่นหรือน้ำดื่ม ในอัตราส่วน 1:1 (อัตราใช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เป็นเนื้อยา 1 ส่วน น้ำกลั่น 2 ส่วน หากต้นทุเรียนอายุ 4-5 ปี หรือ เนื้อยา 2 ส่วน น้ำกลั่น 1 ส่วน หากต้นทุเรียนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

  2. ดูดน้ำยาที่ผสมแล้วใส่หลอดเข็มฉีดยาสำหรับฝังเข็ม 20 ซีซี/เข็ม เตรียมไว้

  3. ใช้สว่านไฟฟ้าใส่ดอกสว่านเบอร์ 7/32 เจาะที่ต้นทุเรียน เอียงทำมุม 45 องศาจากแนวตั้ง ลึกประมาณ 1-1.5 นิ้ว เลือกตำแหน่งเจาะสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 30 เซนติเมตร(1 ฟุต)

  4. นำปลอกเข็ม ตอกเข้ารูที่เจาะไว้ ให้แน่นพอควร เหลือปลายปลอกให้โผล่จากต้นเล็กน้อย

  5. นำเข็มฉีดยาที่มีน้ำยาเตรียมไว้ มาดึงก้านเข็มขึ้นเพื่อเพิ่มลมในเข็ม จนถึงระดับประมาณ 40ซีซี

  6. ปักเข็มลงบนปลอก ใช้ฝ่ามือดันเพื่ออัดน้ำยาเข้าต้น นำตะปูมาขัดที่เข็มไว้ ควรฝังเข็มอย่างน้อย 2 เข็ม ในทิศทางตรงข้ามกันเพื่อป้องกันโรคเน่า

  7. หลังจากฝังเข็มได้ 1-2 วัน หากน้ำยาหมดจากเข็ม ให้ถอดเข็มและปลอกออก อุดรูแผลเดือยไม้ เพื่อปิดแผล






ดู 1,699 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires


เดือยไม้

11_edited_edited.jpg

เดือย/สกรูไม้กลม ผิวเรียบ ไม่มีเกลียว :: เส้นผ่านศูนย์กลาง 5, 6, 8, 10, 12, 15 มิลลิเมตร ความยาว 20-90 มิลลิเมตร

เดือยไม้กลม (ไม่มีเกลียว)

12_edited_edited.jpg

เดือย/สกรูไม้ ผิวเกลียวเป็นเส้นตรง :: เส้นผ่านศูนย์กลาง 5, 6, 8, 10, 12, 15 มิลลิเมตร ความยาว 20-90 มิลลิเมตร

เดือยไม้เกลียวตรง

13_edited_edited.jpg

เดือย/สกรูไม้ ผิวเกลียวเป็นแนวเฉียง :: เส้นผ่านศูนย์กลาง 5, 6, 8, 10, 12, 15 มิลลิเมตร ความยาว 20-90 มิลลิเมตร

เดือยไม้เกลียวเฉียง

ไม้แท่ง

S__21061708.jpg

ไม้ยางพาราแท้ รีดเส้นกลม ผิวเรียบ ไม่มีเกลียว :: เส้นผ่านศูนย์กลาง 5, 6, 8, 10, 12, 15 มิลลิเมตร ความยาว 200-900 มิลลิเมตร

ไม้แท่งกลม (ไม่มีเกลียว)

S__15351974.jpg

ไม้ยางพาราแท้ รีดเส้นกลม ผิวเกลียวเป็นเส้นตรง :: เส้นผ่านศูนย์กลาง 5, 6, 8, 10, 12, 15 มิลลิเมตร ความยาว 200-900 มิลลิเมตร

ไม้แท่งเกลียวตรง

S__15351996.jpg

ไม้ยางพาราแท้ รีดเส้นกลม ผิวเกลียวเป็นแนวเฉียง :: เส้นผ่านศูนย์กลาง 5, 6, 8, 10, 12, 15 มิลลิเมตร ความยาว 200-900 มิลลิเมตร

ไม้แท่งเกลียวเฉียง

bottom of page